วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชั้นบรรยากาศโลก

ชั้นบรรยากาศโลก

ชั้นบรรยากาศคืออะไร      ชั้นบรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้ชั้นบรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  ชั้นบรรยากาศมีความหนารวมแล้วประมาณ 310 ไมล์  อากาศในชั้น บรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

การแบ่งชั้นบรรยากาศ สามารถแบ่งออกได้ 4 แบบ ดังต่อไปนี้

     1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง

     2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์

     3.แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์

     4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา




1. แบ่งชั้นบรรยากาศตามลักษณะและระดับความสูง แบ่งได้ 2 ส่วน คือ

     1. ชั้นบรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบน

          1. โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ 
เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้  อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ 


 2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เอง ที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช  ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก   ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัว และจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วง ของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี

         3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง  83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วน
หินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆ ไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน

   
 2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติ ตรงข้ามกับบรรยากาศส่วนล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อน มาก บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ

          1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส
สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอกซ์ทำให้แตกตัว

          2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดัน
ภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้

          3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆ อยู่เลย





2. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้

     1. โทรโพสเฟียร์ (Troposhere) อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ยกม.ละ 6.5องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ

     2. สตราโตสเฟียร์ (Stratoshere) อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน
อัตรา0.5 องศา c ต่อ1กม.

     3. เมโซสเฟียร์ (Mesosphere)  เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง

     4. เทอร์โมสเฟียร์(Thermoshere) ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลง อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ บรรยากาศในชั้นนี้ถือเป็นบริเวณที่เปลี่ยนจากบรรยากาศของโลก
มาเป็นก๊าซระหว่างดาวที่เบาบาง และเป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เรียกว่า เอกโซสเฟียร์

     นอกจากนี้ ยังเรียก ชั้นโฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน



3. แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น คือ

     1. โทรโพสเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ

     2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน

     3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน

     4. เอกโซเฟียร์  เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆ มีค่าน้อยลง

4. แบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้

     1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด ระหว่าง 0-2 กม.

     2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและบน อุณหภูมิจะลดลงสม่ำเสมอ ตามความสูง

     3. โทรโพพอส เป็นเขตแบ่งว่า มีไอน้ำกับไม่มีไอน้ำ

     4. สตราโตสเฟียร์  มีโอโซนมาก

     5. บรรยากาศชั้นสูง คล้ายกับเอกโซสเฟียร์














การเกิดฤดูกาล

การเกิดฤดูกาล

ฤดู ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานสถานให้ความหมายว่า ส่วนของปีแบ่ง ตามลักษณะของอากาศ ส่วนคำว่า กาล หมายความว่าเวลา ดังนั้น ฤดูกาลจึงอาจหมายถึง ช่วงในแต่ละปีที่แบ่งตามสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดขึ้นจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก  โลกจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ตลอดเวลาขณะเดียวกันโลกก็หมุนรอบตัวเอง  โดยหมุนจากตะวันออกไปตะวันตก  โดยที่แกนของโลกเอียงทำมุม 23 1/2  องศาตลอดเวลา  การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกทำให้บริเวณต่าง ๆ ได้รับแสงสว่างและความร้อนไม่เท่ากัน  ทำให้เกิดฤดูกาลสับกันไปในเวลา 1 ปี  หรือ 365 วัน  เมื่อรอบโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ











ทำไมต้องมีฤดูกาล


    โลก ของเราจะหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 1 วัน ในขณะที่หมุนรอบตัวเองนั้น ก็จะหมุนรอบดวงอาทิตย์ด้วยซึ่งใช้เวลา 365 วัน ในการหมุนรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ แกนของโลกเรานั้นไม่ได้ตั้งตรง แต่จะเอียงทำมุมกับวงโคจรของมันเอง ด้วยเหตุนี้ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อยู่ตามวงโคจรนั้น เมื่อโลกโคจรไปอยู่ในตำแหน่งแต่ละแห่ง ส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะใช้เวลาที่แตกต่างกัน และนี่ก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดฤดูกาลขึ้นมา เช่น ในฤดูร้อนส่วนของโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นช่วงที่ยาวที่สุด (กลางวันนาน) และในเวลากลางคืนน้อยที่สุด ส่วนฤดูใบไม้ร่วงกลางคืนจะยาว กลางวัยจะสั้นที่สุด   ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว จะแบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งโดยทั่วไป ฤดูในเขตอบอุ่นของซีกโลกเหนือจะมีระยะเวลาดังนี้                            
                    วสัน ตฤดู หรือ ฤดูใบไม้ผลิ :  ตั้งแต่ 21 มีนาคม    ถึง 20 มิถุนายน
                   คิมหันตฤดู หรือ ฤดูร้อน     :  ตั้งแต่ 21 มิถุนายน  ถึง 21 กันยายน
                   สารทฤดู หรือ ฤดูใบไม้ร่วง :   ตั้งแต่ 22 กันยายน  ถึง 21 ธันวาคม
                   เหมันตฤดู หรือ ฤดูหนาว    :  ตั้งแต่ 22 ธันวาคม   ถึง 20 มีนาคม
          ในเขตร้อน จะแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูแล้ง (ประกอบด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว) และฤดูฝน   การเกิดฤดูกาลต่างๆในโลกเรานี้ สามารถสังเกตได้จากการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เนื่องจากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นไม่ได้เป็นวงกลมพอดี ประกอบกับการที่โลกหมุนรอบตัวเองและแกนโลกเอียงเล็กน้อย ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆขึ้น
          ประเทศไทยมีฤดูอย่างเป็นทางการเพียง 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน (คิมหันตฤดู), ฤดูฝน (วัสสานฤดู) และฤดูหนาว (เหมันตฤดู) หลายคนมักเข้าใจว่า"วสันตฤดู"คือฤดูฝน ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่ "วสันต์" เป็นคำบาลีและสันสกฤตหมายถึงฤดูใบไม้ผลิ "วัสสานะ" เป็นคำบาลี ตรงกับคำสันสกฤตว่า "วรรษ" (อ่านว่า วัด หรือ วัด-สะ) แล้วไทยแผลงตัว ว เป็นตัว พ กลายเป็น "พรรษ" (หรือ "พรรษา") หมายถึงฤดูฝน เพราะฉะนั้น ฤดูฝนต้องใช้ว่า"วัสสานฤดู" ไม่ใช่วสันตฤดู
          สำหรับประเทศในซีกโลก เหนืออย่างสหรัฐอเมริกาจะมีฤดูทั้งหมดสี่ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ในการแบ่งฤดูกาลในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความเกี่ยวข้องกับวันที่เกิด ปรากฏการณ์ที่สำคัญทางดาราศาสตร์สี่วัน คือ วสันตวิษุวัต ครีษมายัน ศารทวิษุวัต และ เหมายัน วสันตวิษุวัตและศารทวิษุวัต คือ วันที่กลางวันกับกลางคืนมีความยาวเท่าๆกันเนื่องจากพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศ ตะวันออกพอดีและตกลงทางทิศตะวันตกพอดี ขณะที่ วันครีษมายัน ซึ่งเป็นวันที่กลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ส่วนเหมายันคือวันที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน
          คำว่าวิษุวัต ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Equinox (อิควิน๊อกซ์) เป็นช่วงที่เส้นอิคลิปติค หรือเส้นระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ตัดกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า ทำให้มีช่วงเวลา กลางวัน กับกลางคืน ยาวเท่ากัน โดยที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นใกล้จุดทิศตะวันออก และ ตกใกล้ จุดทิศตะวันตก มากที่สุด ในรอบ 1 ปี มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันในหนึ่งปี ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคม ในภาษาอังกฤษเรียกว่า spring equinox เนื่องจากอยู่ในฤดูใบไม้ผลิจึงเกิดการสมาสคำเป็นคำว่า วสันตวิษุวัต เนื่องจาก วสันต หมายถึงฤดูใบไม้ผลิ ส่วนอีกครั้งเกิดขึ้นในวันที่ 22 กันยายน ตรงกับช่วงฤดูใบไม้ร่วงโดยตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า autumnal equinox จึงใช้คำว่า ศารทวิษุวัต คำว่า ศารท สะกดอย่างคำสันสกฤต หรือ สารท สะกดอย่างคำบาลี นั้นหมายถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงนั่นเอง











ส่วนครีษมายัน มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Summer Solstice (ซัมเมอร์ โซล-สะติส) ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลย เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศเหนือมากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่สุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็น วันที่กลางวันยาวนานที่สุดทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูร้อน "ครีษมายัน" อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน มาจากคำสันสกฤตว่า "ครีษมะ" ตรงกับคำบาลีว่า คิมหานะ หรือ คิมหันต์ แปลว่า ฤดูร้อน สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า ครีษมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูร้อน ตรงกับคำว่า summer solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง
          เหมายัน หรือWinter Solstice (วินเทอร์ โซล-สะติส) ตรงกับ วันที่ 22 ธันวาคม ดวงอาทิตย์จะอยู่ต่ำกว่า เส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางทิศใต้มากที่สุด (ดวงอาทิตย์อยู่ต่ำสุดบนท้องฟ้า) ซึ่งเป็นวันที่กลางวันสั้นที่สุด ทางซีกโลกเหนือ ตรงกับฤดูหนาว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจาก แกนเอียงของโลก 23.5 องศา กับแนวที่ตั้งฉากกับระนาบอิคลิปติค "เหมายัน" อ่านว่า เห-มา-ยัน มาจากคำบาลีสันสกฤตว่า "หิมะ" แปลว่า หิมะ อย่างที่เรารู้จักดีก็ได้ หรือแปลว่า ฤดูหนาว ก็ได้ สนธิกับคำว่า "อายัน" แปลว่า การมาถึง คำว่า เหมายัน จึงแปลตรงตัวว่า การมาถึงฤดูหนาว ตรงกับคำว่า winter solstice ในภาษาอังกฤษนั่นเอง
          ดังนั้นประเทศในแถบซีกโลกเหนือบางประเทศอย่าง เช่นสหรัฐอเมริกาถือเอาวันวสัน ตวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคมเป็นวันเริ่มต้นของวสันตฤดูหรือฤดูใบไม้ผลิ ถือเอาวันครีษมายัน ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มิถุนายนเป็นวันเริ่มต้นของคิมหันตฤดูหรือฤดูร้อน ถือเอาวันศารทวิษุวัต ซึ่งตรงกับวันที่ 22 กันยายนเป็นวันเริ่มต้นของศารทฤดูหรือฤดูใบไม้ร่วง ถือเอาวันเหมายัน ซึ่งประมาณตรงกับวันที่ 22 ธันวาคมเป็นวันแรกของเหมันตฤดูหรือฤดูหนาว วันเหล่านี้ห่างกันประมาณ 3 เดือนพอดิบพอดี

























ทำไมถึงหาว

ทำไมถึงหาว







หลายคนอยากรู้เวลาที่เราหาว คนที่อยู่รอบตัวเราก็จะหาวตามเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่สั่งการโดยสมอง ที่รับรู้การเกิดปฏิกิริยาและตอบสนองในเวลาที่รวดเร็ว  การหาวเกิดจากการขาดออกซิเจน  และในเวลาที่มีความเครียดหรือแรงกดดัน จึงทำให้เกิดอาการหาว รอบรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ เคยสังเกตไหมว่าอาการหาวก็เหมือนโรคติดต่อ เหมือนมีคนหาวเราก็จะหาวตาม เมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอน  การหาวยังมีประโยชน์ อีกช่วยลดอุณหภูมิของสมอง  เพราะการหาวจะต้องอาศัยอากาศเย็นช่วยลดความร้อนในสมอง ทุกคนมีอาการหาวตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ หรือว่าผู้สูงอายุง่ายๆคือตั้งแต่เกิดจนตายจะมีอาการหาวกันทุกคน ดังนั้นก็เป็นเรื่องปกติแต่ก็อาจนำไปสู่โรคต่างๆก็เป็นได้


ลักษณะของการหาว ปากจะขยายขึ้นเพื่อสูดลมเข้าไปลึกๆ  หลอดลมก็จะขยายเป็นวงกว้าง  ตาก็จะแดง น้ำตาไหล มีน้ำมูกออก เป็นต้น


สาเหตุการหาว

ส่วนมากจะมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดความเครียดต่างๆในแต่ละบุคคลและความหวาดกลัวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ หรือบางทีก็ไม่ได้เกิดจากตัวเราเองก็ได้ เกิดจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวอาจจะเป็นคนรอบข้างที่อยู่รอบตัวคุณ
ที่มีอาการหาวแล้วร่างกายของเราก็จะหาวตามคือปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งนั้นด้วย
วิธีที่ช่วยไม่ให้เกิดการหาว ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียดมากจนเกินไป  หากิจกรรมที่สบายทำและออกกำลังกายสม่ำเสมอที่สำคัญพักผ่อนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและอากาศที่บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงอากาศที่เป็นพิษ แล้วอากาศหาวก็จะค่อยๆลงลงเอง



หากปัญหาการหาวยังไม่หยุดหรือมากกว่า30 ครั้ง คุณอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือบางทีอาจเป็นปัญหาการนอนไม่หลับ  ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้รับการตรวจร่างกายและรักษาที่ถูกต้อง












การเกิดภูเขาไฟ

การเกิดภูเขาไฟ





โดยทั่วไปแล้วการเกิดภูเขาไฟประมาณ 95 % เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกมาเกยกันหรือที่เรียกตาม ศัพท์ทางวิชาการว่า subduction zone เปลือกโลกของเราเป็นชั้นหินที่มีความแข็ง มีความหนาประมาณ 40-60 กิโลเมตร


ผิวโลกมีลักษณะเป็นแผ่น ไม่ได้รวมเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งโลก เปลือกโลกถูกแบ่งออกตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.Oceanic plate คือ แผ่นเปลือกโลกที่อยู่ใต้มหาสมุทร(อันนี้คือพื้นดินที่อยู่ใต้ทะเลเลยน่ะ เซิจ Google earth ดูได้)
2.Continental plate คือ แผ่นทวีป ซึ่งปรากฏอยู่ตามส่วนที่เป็นพื้นดิน(ที่เราๆ เหยียบกันนี่แหล่ะครับ)


ดังนั้น เมื่อได้รับความร้อนจากแก่นโลกก็จะทำให้แผ่นโลกเกิดการเคลื่อนที่ อยู่ตลอดเวลาโดยกะประมาณว่าแผ่นโลกของเราจะมีการเคลื่อนที่ประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปี และเมื่อแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นเคลื่อนที่ชนกัน( convergent plate boundaries) ก็จะทำให้แผ่นโลกแผ่นหนึ่งมุด ลงใต้แผ่นโลกอีกแผ่นหนึ่ง(โดยส่วนใหญ่ Oceanic plate จะมุดน่ะครับเพราะมันหนักกว่า จะมีที่เดียวคือใต้หวันที่ Continental plate มุด Oceanic Plate ครับ)
แผ่นที่มุดต่ำลงจะเข้าสู่ชั้นเปลือกโลกที่มีความร้อนสูงดังนั้นเกิดเป็น พลังงานความร้อนที่พยายามดันตัวออกมาสู่ภายนอก ลักษณะของการเกยกันของแผ่นเปลือกโลกนี้เองที่เราเรียกว่า subduction zone ภูเขาไฟมักจะเกิดตามแนว subduction zoneนี้








ส่วนอีก 5 % ของการเกิดเป็นภูเขาไฟระเบิด จะไม่เกิดตามแนวรอยแยกของแผ่นเปลือก โลกแต่จะเกิดในพื้นที่ช่วงกลางแผ่นเปลือกโลก ตรงที่มี Hotspot ปรากฏการณ์เช่นนี้ จะเกิดโดยมีการสะสมของ Magma จำนวนมากใต้แผ่นเปลือกโลกเมื่อมีจำนวน Magma จำนวนมาก ก็จะเกิดแรงดันจำนวนมหาศาลทำให้ Magma ไหลท่วมออกมาจนสามารถทำให้แผ่น เปลือกโลกขยับได้ นักธรณีเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Mantle plume อย่างเช่นการเกิดภูเขาไฟในหมู่เกาะฮาวาย










วิวัฒนาการของมนุษย์

วิวัฒนาการของมนุษย์

 70 ล้านปีแห่งห้วงเวลาของการกำเนิดวิวัฒนาการของมนุษย์ จากสายพันธุ์ซึ่งเคยเป็นลิงไม่มีหาง เดินหลังค่อม มีขนเต็มตัว ค่อยๆพัฒนามาเป็นการเดินลำตัวตรง ขนตามตัวลดน้อยลง มีมันสมองใหญ่ขึ้น โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาตามลำดับ


โปรคอนซูล เป็นลิงไม่มีหาง หนึ่งในสายพันธุ์ของมนุษย์ อาศัยอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันออก เมื่อประมาณ 20-25 ล้านปีมาแล้ว มีมันสมองขนาดเล็ก แต่สามารถยืน ลำตัวตั้งตรงได้แล้ว

 

 

 

 ออสตราโลพิธีคัส เป็นสายพันธุ์บรรพบุรุษมนุย์ ที่พัฒนาขึ้นจนสามารถวิ่งลำตัวตั้งตรงได้ ขนตามลำตัวน้อยลง มีความคล้ายคลึงมนุษย์ในปัจจุบันมาก สามารถผลิตเครื่องมือที่ทำจากหิน ในการล่าสัตว์ได้แล้ว มีอายุอยู่ระหว่าง 5 ล้านถึง 2 ล้านปีมาแล้ว

 

 





  โฮโมอีเร็คตัส (มนุษย์ชวา ทางซ้าย) เคยอาศัยอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และอัฟริกาตะวันออก เมื่อ 1.5 ล้านปีมาแล้ว มีความเป็นมนุษย์เต็มตัวแล้ว ใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ในปัจจุบันและโฮโม แซเปียนส์ (ทางขวา) เคยอาศัยอยู่ในยุโรป และตะวันออกกลาง มีอายุเมื่อ 250,000 ปีมาแล้ว






  โฮโมแซเปียนส์ สายพันธุ์บรรพบุรุษมนุษย์ ในยุโรปและตะวันออกกลาง มีอายุเมื่อ 250,000 ปีมาแล้ว มีการพัฒนาทางร่างกาย ใกล้เคียงมนุษย์ปัจจุบัน สามารถยืนตัวตรงได้ ยังชีพด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหาร โดยใช้อาวุธที่ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้น












   มนุษย์ปักกิ่ง อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน เมื่อประมาณ 3-4 แสนปีมาแล้ว เริ่มรู้จักจุดไฟใช้เองได้ นิยมล่ากวาง โดยใช้เครื่องมือที่ทำจากหิน











  มนุษย์กับไฟ มนุษย์รู้จักใช้ไฟเมื่อมีการระเบิดของภูเขาไฟในอัฟริกา ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4 แสนปีมาแล้ว นับเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกของมนุษย์ หลังจากนั้นความเป็นอยู่ของมนุษย์ก็เริ่มดีขึ้น และไฟถูกนำมาใช้ประโยชน์สืบต่อกันมาจนทุกวันนี้










  มนุษย์นีแอนเดอธัส อาศัยอยู่ในยุโรปและ ตะวันออกกลาง เมื่อประมาณหนึ่งแสนปีถึงสามหมื่นห้าพันปีมาแล้ว ยืนตัวตรง อาศัยอยู่ตามถ้ำ ล่าสัตว์เป็นอาหาร เป็นช่วงเวลาที่เป็นยุคน้ำแข็งของโลก น้ำทะเลลดระดับต่ำลงมาก จึงมีถ้ำมากมาย ให้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย










   มนุษย์โครมันยอง เป็นพวกนีแอนเดอธัส ที่สืบสายพันธุ์บรรพบุรุษมนุษย์ต่อมา ถือว่าเป็นต้นตระกูลของพวกคอเคซอยด์รุ่นแรก มีกระโหลกศีรษะโค้งมนมากขึ้น ขากรรไกรหดสั้น แก้มนูนเด่นชัด นิยมล่าสัตว์และนุ่งห่มด้วยขนสัตว์ มีอายุอยู่ในช่วง 3 หมื่นถึง 4 หมื่นปีมาแล้ว










    มนุษย์กับการเพาะปลูก เดิมทีมนุษย์รุ่นแรกๆ เมื่อ ห้าพันปีก่อนคริสตศักราช รู้จักเก็บข้าวสาลีและข้าวบาร์เล่ย์เป็นอาหาร ต่อมาด้วยความฉลาดและสังเกต ทำให้มนุษย์สามารถเพาะปลูกได้เอง โดยเริ่มในเขต เมโสโปเตเมีย มนุษย์ปัจจุบันได้แบ่งเชื้อชาติเผ่าพันธุ์กว้างๆเป็น คอเคซอยด์ มองโกลอยด์ นิกรอยด์ และออสตราลอยด์











 มนุษย์เชื้อชาติคอเคซอยด์ กระจายแพร่หลายในยุโรป อเมริกาเหนือ-ใต้ มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ขนตามลำตัวสีน้ำตาล ผมสีทอง ริมฝีปากบาง จมูกโด่ง นัยน์ตาสีน้ำเงิน หรือฟ้า มีเชื้อชาติย่อยเป็น พวกนอร์ดิก เซลติค อามาเนีย และออสเตรเลียน










มนุษย์เชื้อชาติมองโกลอยด์ กระจัดกระจายอยู่ในเอเซีย มีชาติย่อยๆ เช่น เอสกิโม อินเดียนในอเมริกาเหนือ-กลาง มีผิวเหลือง รูปร่างสันทัด ผมสีดำ ตาสีน้ำตาล จมูกไม่โด่งนัก รูปหน้ากลม ริมฝีปากบาง










 มนุษย์เชื้อชาตินิกรอยด์ กระจัดกระจายอยู่ในอัฟริกา และมีชาติย่อยในปาปัวนิวกินี และเมลานิเซียน มีผิวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ผมดำหยิกขอด ริมฝีปากหนา รูปร่างสันทัด และสูงใหญ่ในบางกลุ่ม









  มนุษย์เชื้อชาติออสตราลอยด์ เป็นชาวพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย และบริเวณเกาะใกล้เคียง ผิวดำ ผมหยิก ริมฝีปากหนา รูปร่างสันทัด ใบหน้ารูปไข่













   มนุษย์เชื้อชาติโพลีเนเซียน เชื้อชาติที่แพร่กระจายอยู่ตามเกาะของมหาสมุทรแปซิฟิคตอนกลาง และตอนใต้ มีรูปร่างสันทัด ผิวสีน้ำตาล ผมหยักศก.